บริการแปลภาษามาเลย์
เพิ่มมูลค่าแบรนด์ของคุณในมาเลเซียโดยนำเสนอประสบการณ์ ที่ลูกค้าเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้ในทุกช่องทางสื่อ
เพิ่มมูลค่าแบรนด์ของคุณในมาเลเซียโดยนำเสนอประสบการณ์ ที่ลูกค้าเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้ในทุกช่องทางสื่อ
มาเลย์หรือ ‘บาฮาซามาเลเซีย’ ไม่จัดว่าเป็นภาษาที่ซับซ้อนในมุมมองของโลคัลไลเซชัน เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ใช้ชุดตัวอักษรละติน ดังนั้นจึงเข้ากันได้กับแทบทุกโปรแกรมและแพลตฟอร์ม นอกจากจะต้องแน่ใจว่าคำศัพท์เหมาะสมกับผู้เขียน เนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย และใช้นักแปลภาษามาเลย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาในระดับที่เหมาะสมแล้ว ตามปกติงานโลคัลไลเซชันภาษามาเลย์มักไม่ค่อยมีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษคือ การพากย์ภาษามาเลย์ เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีสำเนียงและภาษาถิ่นที่หลากหลาย ดังนั้นการเลือกนักพากย์จึงต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย
EQHO ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประสบการณ์ภาษาเอเชียมาเกือบสองทศวรรษ และมีนักแปลภาษามาเลย์ประจำที่บริษัท ให้บริการแปลภาษามาเลย์มาแล้วหลายล้านคำในหลากหลายเนื้อหาให้กับบริษัทชั้นนำของโลกหลายบริษัท รวมทั้ง Microsoft จากบริการแปลภาษามาเลย์คุณภาพสูง ร่วมกับความสามารถในการปรับ และการบริการลูกค้าที่ไม่มีใครเทียบได้ EQHO สั่งสมผลงานที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วในการช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จในตลาดมาเลเซีย นอกจากจะมีพนักงานชาวมาเลย์ที่ทำงานประจำแล้ว EQHO ยังทำงานกับเครือข่ายนักแปลภาษามาเลย์มืออาชีพในประเทศมาเลเซียอีกด้วย
การแปล
การตรวจแก้ไข
การพิสูจน์อักษร
การสร้างเครื่องมือการแปลด้วยเครื่อง
การตรวจแก้ไขหลังการแปลด้วยเครื่อง
งาน DTP
การพากย์และการอัดเสียง
การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
โลคัลไลเซชันสำหรับ Flash และมัลติมีเดีย
การทดสอบด้านภาษา
การทดสอบการทำงาน
การตีความ
เอกสารประกอบ
คู่มือด้านเทคนิค
สื่อการตลาด
โบรชัวร์และใบปลิว
บรรจุภัณฑ์และฉลาก
นิตยสารและจดหมายข่าว
เว็บไซต์
แอปบนมือถือ
ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
การฝึกอบรมและอีเลิร์นนิง
การพากย์และมัลติมีเดีย
เนื้อหาวิดีโอ
ดาวน์โหลดคู่มือ Localization 101 ขนาด 20 หน้าที่มีครบทุกอย่างได้ฟรี
ภาษามาเลเซีย เรียกว่า บาฮาซามาเลเซียหรือบาฮาซามลายู จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียและเป็นระดับภาษามาตรฐานของภาษามาเลย์ ทั้งนี้มักจะมีความสับสนเกี่ยวกับความหมายของชื่อบาฮาซามาเลเซีย บาฮาซามลายู และบาฮาซาอินโดนีเซีย ในประเทศมาเลเซีย ไม่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างบาฮาซามาเลเซียกับบาฮาซามลายู (ในปี 2529 ชื่ออย่างเป็นทางการเปลี่ยนเป็นบาฮาซามลายู แต่ในปี 2550 เปลี่ยนกลับเป็นบาฮาซามาเลเซีย เพื่อช่วยให้เกิดสำนึกของความเป็นเจ้าของสำหรับพลเมืองทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ) ส่วนบาฮาซาอินโดนีเซียหมายถึงภาษามาเลย์ระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ในประเทศอินโดนีเซีย ทั้งสามภาษามีความแตกต่างอย่างชัดเจน ดังนี้ บาฮาซาอินโดนีเซียหมายถึงภาษามาเลย์ระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย บาฮาซามาเลเซียหมายถึงภาษามาเลย์ระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ส่วนบาฮาซามลายูหมายถึงภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์มาเลย์ในประเทศอินโดนีเซีย โปรดทราบว่าสำนักงานภาษาและวรรณกรรมของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและบรูไน ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรฐานระดับภาษามาเลย์ที่ใช้เป็นภาษาประจำชาติของตน
ภาษามาเลเซียมีคำยืมหลายคำที่มาจากภาษาสันสกฤต, ทมิฬ/เตลูกู, กรีก, ละติน, โปรตุเกส, ดัตช์, จีนบางท้องถิ่น, อาหรับ (สำหรับศัพท์ศาสนา) และล่าสุดภาษาอังกฤษ (สำหรับศัพท์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
ตัวเขียนละตินที่เรียกว่ารูมิ เป็นที่รู้จักในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และปัจจุบันเป็นระบบการเขียนที่เป็นทางการเพียงระบบเดียว ในการปรับปรุงแก้ไขล่าสุดในปี 2515 ใช้ชุดตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้ง 26 ตัว ตั้งแต่ A a ถึง Z z นอกจากนี้ ยังมีทวิอักษรสระประสมสองตัว 3 ตัว ได้แก่ ai au oi และทวิอักษรพยัญชนะ 5 ตัว ได้แก่ gh kh ng ny sy ซึ่งไม่นับเป็นอักษรต่างหากของชุดตัวอักษร ถึงกระนั้นก็ตาม ตัวเขียนโบราณภาษายาวี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาอาหรับ ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศมาเลเซีย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวเขียนทางการเช่นในประเทศบรูไน ความนิยมอย่างต่อเนื่องของภาษายาวีเห็นได้จากซอฟต์แวร์โปรแกรมจำนวนมากที่ให้บริการเขียนทับศัพท์อัตโนมัติระหว่างระบบการเขียนทั้งสอง ตัวเขียนภาษายาวีเขียนจากขวาไปซ้ายและประกอบด้วยตัวอักษร 40 ตัว ส่วนใหญ่มีรูปที่ใช้แบบลอย เริ่มต้น ตรงกลางและปิดท้ายที่แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้เป็นการเยิ่นเย้อ จึงได้แสดงเฉพาะในแบบลอยดังนี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลข้อความเป็นภาษามาเลเซีย ควรทราบว่ารูปแบบภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกัน และไวยากรณ์ด้วยในบางกรณี และนอกจากนี้ ยังมีภาษาถิ่นเฉพาะภูมิภาคจำนวนมาก ดังนั้น ประเด็นหลักของงานโลคัลไลเซชันคือการเลือกใช้รูปแบบภาษา และ/หรือภาษาถิ่นให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย
สำหรับงานโลคัลไลเซชันการบันทึกเสียง เนื่องด้วยภาษาถิ่นที่มีเป็นจำนวนมาก จะต้องเลือกนักพากย์ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย
ติดต่อเราเพื่อดูว่าคุณสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกได้อย่างไร